The Sixth Sense 1999 ซิกซ์เซ้นส์…สัมผัสสยอง 2542 ภาพยนตร์อเมริกันดราม่าสยองขวัญ นำแสดงโดย บรู๊ซ วิลลิส, ฮาร์ลี่ย์ โจเอล ออสเมนต์, โทนี่ คอลเล็ตต์, โอลิเวีย วิลเลียมส์ กำกับโดย เอ็ม. ไนท์ ชยามาลาน จัดจำหน่ายและเผยแพร่โดยวิสตาบัวนา พิคเจอร์สในเครือของวอลท์ดิสนีย์โมชั่นสตูดิโอ เรื่องราวของมัลคอล์ม โครว์นักจิตวิทยาเด็กในเมืองฟิลาเดลเฟียกับเด็กชายโคล เซียร์ ที่อ้างว่าตนเห็นวิญญาณ
วันที่ออกฉาย : 6 สิงหาคม 2542 (สหรัฐอเมริกา) l 17 กันยายน 2542 (ไทย)
ผู้กำกับภาพยนตร์ : เอ็ม. ไนท์ ชยามาลาน
เขียนบทภาพยนตร์ : เอ็ม. ไนท์ ชยามาลาน
อำนวยการสร้าง : แบร์รี่ เมนเดล l แซม เมอร์เซอร์ l เอ็ม. ไนท์ ชยามาลาน
กำกับภาพ : ทัค ฟูจิโมโต้
ตัดต่อ : แอนดรูว์ มองด์ชน์
ดนตรีประกอบ : เจมส์ นิวตัน ฮาวเวิร์ด
ค่ายผลิต : ฮอลลีวู้ด พิคเจอร์ส l สปายกลาส เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ l บริษัท เคนเนดี/มาร์แชล l แบรี่ เมนเดล โปรดักชั่น
จัดจำหน่าย/เผยแพร่ : บริษัทจำหน่ายวิสตาบัวนา พิคเจอร์ส
ความยาว : 1 ชม. 47 นาที
งบประมาณการสร้าง : 40 ล้านดอลล่าสหรัฐ
รายได้บ็อกซ์ออฟฟิศ : 672.8 ล้านดอลล่าสหรัฐ
รางวัลที่ได้รับ :
– คริติกส์ชอยส์มูฟวี่อวอร์ด สาขานักแสดงรุ่นเยาว์ยอดเยี่ยม
พ.ศ. 2543 · ฮาร์ลี่ย์ โจเอล ออสเมนต์
– เจแปน อะคาเดมี ไพรซ์ สาขาภาพยนตร์ต่างประเทศยอดเยี่ยม
พ.ศ. 2543
– พีเพิลช้อยซ์ อวอร์ดส์ สาขาภาพยนตร์ยอดนิยม
พ.ศ. 2543
– พีเพิลช้อยซ์ อวอร์ดส์ สาขาภาพยนตร์ดรามายอดนิยม
พ.ศ. 2543
– เอ็มทีวีมูวีอะวอดส์ สาขานักแสดงชายหน้าใหม่ยอดเยี่ยม
พ.ศ. 2543 · ฮาร์ลี่ย์ โจเอล ออสเมนต์
– ทีน ชอยส์ อวอร์ดส์ สาขาภาพยนตร์แนวชีวิตยอดนิยม
พ.ศ. 2543
– รางวัลเนบิวลา สาขาบทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม
พ.ศ. 2543 · เอ็ม. ไนท์ ชยามาลาน
– บราม สโตกเกอร์ อวอร์ดส์ สาขาบทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม
พ.ศ. 2542 · เอ็ม. ไนท์ ชยามาลาน
– แซทเทิลไลท์ อวอร์ด สาขาลำดับภาพยอดเยี่ยม
พ.ศ. 2543 · แอนดรูว์ มองด์ชน์
-แซทเทิลไลท์ อวอร์ด สาขาบทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม
พ.ศ. 2543 · เอ็ม. ไนท์ ชยามาลาน
– บล็อกบัสเตอร์ เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ อวอร์ด สาขานักแสดงชายยอดเยี่ยม
พ.ศ. 2542 · บรูซ วิลลิส
– ทีน ช้อยส์ อวอร์ด สาขานักแสดงดาวรุ่งยอดนิยม
พ.ศ. 2543 · ฮาร์ลี่ย์ โจเอล ออสเมนต์
– พีเพิล’ส ช้อยซ์ อะวอร์ดส์ สาขาคนดังจากภาพยนตร์แนวดราม่ายอดนิยม
พ.ศ. 2543 · บรูซ วิลลิส
มัลคอล์ม โครว์(บรู๊ซ วิลลิส)นักจิตวิทยาเด็กในเมืองฟิลาเดลเฟียอาศัยอยู่กับแอนนา โครว์ภรรยาของเขา(โอลิเวียร์ วิลเลี่ยมส์) คืนหนึ่งมีชายหนุ่มคนแปลกหน้าปรากฏตัวในห้องน้ำบ้านของเขาปรากฏว่าเป็นอดีตคนไข้ของเค้าวินเซนต์ เกรย์มิลส์อดีตผู้ป่วยเข้าบำบัดอาการเห็นภาพหลอนที่เค้ารักษาล้มเหลวไม่สามารถช่วยได้ แต่ก่อนที่เขาจะพูดอะไรกับวินเซนต์เค้าก็ได้ลั่นปืนใส่ที่ตัวเองหนึ่งนัดเสียแล้วหลังจากเหตุการณ์นั้นภรรยาก็ไม่คุยกับเค้าอีกเลยอาจจะเป็นเพราะโกรธเรื่องที่อาชีพเค้าเป็นสาเหตุที่ทำให้คนมาฆ่าตัวตายในบ้าน
ต่อมาอีหนึ่งปีในช่วงฤดูใบไม้ร่วง มัลคอล์มก็ได้พบกับผู้เข้าบำบัดเด็กที่น่าสนใจคนหนึ่ง โคล เซียร์ (ฮาลี่ย์ โจเอล ออสเมนต์) เป็นเด็กเก็บตัวทำตัวเหมือนมีอะไรบางอย่างซ่อนอยู่หรือคุยเหมอลอยบนอากาศรวมถึงกล่าวถึงเรื่องราวมากมายที่ได้ยินมาจากใครไม่รู้ เลือกที่จะไม่คบค้าสมาคมกับใครเป็นเหตุที่ชอบโดนแกล้งอยู่บ่อยครั้งมีความลับบางอย่างไม่กล้าบอกแม้กระทั่งผู้เป็นแม่ลินน์ (โทนี่ คอลเล็ตต์) เบื้องต้นหมอมัลคอล์มวินิฉัยว่าอาจจะเกิดรอยร้าวทางจิตใจที่เกิดจากพ่อกับแม่ของเด็กแยกกันอยู่ตั้งแต่เค้ายังเล็ก จนตรวจสอบต่อไปหมอมัลคอล์มก็ได้พบกับร่องรอยการถูกทำร้ายที่เจ้าตัวบอกว่าโดนเพื่อนแกล้ง แต่สุดท้ายสารภาพความลับน่าเหลือเชื่อที่เก็บงำมาตลอดว่าเด็กชายโคลเห็นสิ่งลี้ลับที่เรียกว่าวิญญาณ วิญญาณเหล่านั้นไม่รู้ตัวว่าตัวเองตายและต้องการให้ทำอะไรบางอย่างบางตนก็กร้าวร้าวรวมไปถึงทำร้ายเค้า
แต่ในเรื่องแบบนี้ก็ไม่มีใครสามารถเชื่อได้อย่างบักใจโดยไม่มีของพิสูจน์หรือหลักฐาน แต่หมอมัลคอล์มได้เริ่มตั้งข้องสงสัยกับคนไข้เก่าที่คล้ายกันของเค้าอย่างวินเซนต์ เกรย์มิลส์ที่เคยอ้างว่ามีอาการแบบนี้เช่นกันโดยเปิดเทปบันทึกบทสนทนาจากม้วนเทปบันทึกเสียงในลังที่เค้าเก็บไว้เป็นข้อมูลหลักฐานในการรักษา เป็นเหตุการณ์ในวันที่วินเซนต์แอบเข้ามาฆ่าตัวตายในห้องน้ำบ้านเค้า เป็นเสียงพูดคุยปกติแต่มีเสียงแทรกเบาๆที่ต้องปรับระดับเสียงให้สูงสุดจะได้ยินเสียงลี้ลับของใครบางคนที่แทรกเข้ามาในบทสนทนาเป็นภาษาสเปนว่า”โยโน่ คิวเอโร่ มอรี่ร์” ที่แปลว่าฉันยังไม่อยากตาย ทำให้เค้าคิดได้ว่าจริงๆแล้ววินเซนต์อาจจะพยายามช่วยวิญญาณเหล่านี้ผ่านทางตัวเค้าโดยนำเรื่องราวของพวกเค้าเหล่านั้นมาปรึกษากับหมอมัลคอล์ม แต่ตัวหมอกลับไม่เข้าใจที่วินเซนต์พยายามยอกและสื่อถึง หมอมัลคอล์มเริ่มเชื่อและไม่อยากให้เหตุการณ์ในเคสแบบวินเซนต์ เกรย์มิลส์ซ้ำรอยอีกครั้ง เขาจึงแนะนำว่าโคลถ้าหากเป็นเรื่องจริงมีความเป็นไปได้ที่จริงๆแล้ววิญญาณนั้นต้องหารความช่วยเหลือจากเค้าเท่านั้น โคลไม่เต็มใจในตอนแรกจากนั้นในที่สุดก็ตกลงที่จะพยายามช่วย
โคลตื่นขึ้นมาในคืนหนึ่งเพื่อค้นพบเด็กหญิงสาวคนหนึ่งอาเจียนอย่างสยดสยอง หลังจากรู้ว่าเธอไม่ใช่คนปกติและพบเจอเธอหลายครั้งแล้วโคลจึงรวมความกล้าทั้งหมดถามหาสาเหตุที่มาปรากฎตัวให้เค้าเห็น ในวันต่อมาโคลไปกับมิลล์ส์ในงานศพที่บ้านของเด็กหญิงลึกลับคนนั้น ซึ่งเขาได้แอบเข้าไปนำกล่องที่เก็บวิดีโอเทปบางอย่างที่ถูกชี้ทางที่เก็บโดยผีเด็กผู้หญิงคนนั้นเอง โคลได้นำมอบให้กับพ่อของเธอภายในเทปแสดงให้เห็นเรื่องราวขณะที่แม่ของเด็กหญิงสาวกำลังวางยาในอาหารลูกสาวเธอเองจำนำไปสู่การสรุปพลิกคดีอีกทั้งโคลได้ช่วยชีวิตน้องสาวของหญิงสาวจากชะตากรรมเดียวกันจากแม่ใจร้าย
เมื่อผ่านเหตุการณ์นั้นไปเด็กชายโคล เซียร์ เริ่มเรียนรู้ที่จะปรับตัวอยู่กับสิ่งลี้ลับที่เขาเห็น โคลทำให้เค้าเหมือนเด็กคนอื่นทั่วไปไม่หวาดระแวงกับสิ่งที่เค้าเห็นและจัดการกับมันได้ เริ่มเข้ากับเพื่อนที่โรงเรียนได้มีมนุษยสัมพันธ์มากขึ้นและยังถูกคัดเลือกให้ได้รับบทเป็นผู้ตัวเอกในละครโรงเรียนอีกด้วยเรียกได้ว่าการบำบัดทางจิตกับหมอมัลคอล์ม โครว์ได้ผลอย่างดีเยี่ยมก่อนจากันโคลแนะนำกับหมอมัลคอล์มลองพูดกับแอนนาภรรยาที่ไม่ยอมคุยกับเค้าในขณะที่เธอหลับ ในขณะที่อยู่บนรถทางกลับบ้านอยู่โคลได้บอกกับแม่ของเค้าว่ามีคนเสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนนเป็นเหตุทำให้รถติดเพราะเค้าเหตุวิญญาณผู้เคราะห์ร้ายพึ่งผ่านไปเมื่อลินน์ไม่เชื่อเขาโคลจึงตัดสินบอกเรื่องที่มีแค่แม่กับยายของเขาที่จากไปแล้วเท่านั้นที่รู้ เค้าอ้างว่ายายผู้ล่วงลับมาเยี่ยมคุยกับเขา อีกทั้งยังเล่าถึงเรื่องที่แม่ของเค้าลินน์ในวัยเด็กในตอนที่ร่วมกิจกกรมการเต้นรำในโรงเรียน โคลสามารถอธิบายรายละเอียดได้ทั้งหมดทั้งที่เขายังไม่เกิดมาด้วยซ้ำ
มัลคอล์มกลับบ้านไปหาภรรยาของเขาขณะที่เธอหลับเผลอไปหลับไปในขณะที่เปิดดูม้วนวิดีโอที่บันทึกในวันแต่งงาน เมืิ่ิอเดินเข้าไปใกล้แอนนาถามว่าทำไมเขาถึงทิ้งเธอไว้ลำพัง ขณะนั้นแหวนแต่งงานของมัลคอล์มก็หลุดร่วงมาจากมือภรรยาของเค้าโดยเป็นไปไม่ได้ว่าเค้าจะไม่ใส่มันไว้ ระลึกถึงสิ่งที่โคลบอกเขาว่าวิญญาณเหล่านั้นไม่รู้ตัวว่าตัวเองตายแล้ว มัลคอล์มเริ่มเห็นในช่วงเวลาที่เขาหลงลืมไปทันใดนั้นมัลคอล์มก็จำได้ว่าถูกยิงและพบบาดแผลกระสุนปืนกลางหน้าอกของเค้าซึ่งเผยให้ได้รับรู้ความจำทั้งหมดว่าเขาถูกวินเซนต์ผู้ป่วยของเค้าฆ่าไปตั้งแต่เหตุการณ์ครั้งนั้น และเขาก็ได้ตายจากโลกนี้ไปนานแล้วโดยที่ไม่รู้ตัว
The Sixth Sense 1999 ได้รับการวิจารณ์ในเชิงบวกโดยเฉพาะอย่างยิ่งจากนักวิจารณ์จากทางรอตเทนโทเมโทส์ที่ให้คะแนนถึง 86% จาก153นักวิจารณ์ที่ให้ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับการวิจารณ์เชิงบวกรวมทั้งจากผู้ชมที่สำรวจโดย บริษัทวิจัยตลาดภาพยนตร์อย่างซีนีม่าสกอร์ให้เกรดเฉลี่ย A-ที่ถือว่าสูงเป็นอย่างมาก
#The Sixth Sense (1999) ซิกซ์เซ้นส์…สัมผัสสยอง 2542 #รีวิวหนัง